คีมตัด PLATO 170 (T0001P)



เลือกใช้คีมให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของคีมชนิดนั้น ๆ เช่น คีมตัดไม่เหมาะกับการใช้จับ คีมตัดสายไฟฟ้า ไม่เหมาะที่จะใช้ตัดแผ่นโลหะ เป็นต้น
- ฟันที่ปากของคีมจับ ต้องไม่สึกหรอ ส่วนปากของคีมตัดต้องไม่ทื่อ
- การจับคีม ควรให้ด้ามคีมอยู่ที่ปลายนิ้วทั้ง 4 แล้วใช้อุ้งมือ และนิ้วหัวแม่มือกดด้ามคีมอีกด้าน จะทำให้มีกำลังในการจับ หรือตัด การปลอกสายไฟฟ้า ควรใช้คีมปลอกสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพราะจะมีขนาดของรูปเท่ากับขนาดของสายไฟฟ้าพอดี ส่วนการตัดสายไฟฟ้า หรือเส้นลวดที่ไม่ต้องการให้โผล่จากชิ้นงานควรใช้คีมตัดปากทแยง
- ไม่ควรใช้คีมตัดโลหะที่มีขนาดใหญ่ หรือแข็งเกินไป แต่ให้ใช้กรรไกรแทน
- ไม่ควรใช้คีมขัน หรือคลายหัวน็อต เพราะจะทำให้หัวน็อตชำรุด
- ถ้าต้องจับชิ้นงานให้แน่นควรใช้คีมล็อก
- ถ้าชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ควรใช้คีมปากขยาย การใช้คีมที่ปากเล็ก จะไม่มีกำลังที่จะจับชิ้นงานให้แน่น เพราะด้ามของคีมจะถ่างมากไป
- ถ้าต้องการเก็บคีมไว้นาน ควรหยอดน้ำมันที่จุดหมุนของคีม และควรมีการหยอดน้ำมันเป็นระยะ
- หลังจากเลิกใช้งานประจำวัน ควรเช็ดทำความสะอาด แล้วเก็บไว้ในที่ที่จัดเตรียมไว้หรือที่ปลอดภัย